 |
โครงการบูรณาการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร
Agricultural Data Integration and Zoning Optimization Modeling
ที่มาของโครงการ
ด้วยคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของภาคเกษตรกรรมที่มีต่อภาค
เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งรายได้หลักของคนส่วนใหญ่ซึ่งมีอาชีพทำการเกษตร ทั้งพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่ง
ของประเทศยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นฐานในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมในประเทศที่สำคัญ ประกอบกับ
เกษตรกรรายย่อยมักประสบกับปัญหารายได้ต่ำ เนื่องจากความผันผวนทางการตลาด และการขาดการวางแผนจัดการการผลิตที่
ดี ที่สำคัญคือ ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจว่าจะเพาะปลูกพืชชนิดใด เมื่อไร และอย่างไร ในแปลงของ
ตนเอง ในขณะที่ภาครัฐเองก็ขาดข้อมูลภาคสนามที่ถูกต้องสมบูรณ์ ทำให้การวางแผนในระดับมหภาคไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ภาครัฐจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ด้วยการใช้
ประโยชน์ที่ดินของประเทศให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมดังกล่าวมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การปรับสมดุลของอุปสงค์ (Demand) และ
อุปทาน (Supply) ของสินค้าเกษตรในแต่ละพื้นที่ โดยอาศัยการบูรณาการข้อมูลจากหลายภาคส่วน ได้แก่ ข้อมูลทางวิชาการ
ข้อมูลศักยภาพและกายภาพในพื้นที่ รวมถึงข้อมูลสภาพดินและสภาพอากาศในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร เป็นต้น
และนำมาวิเคราะห์ร่วมกับความต้องการของตลาด เพื่อหาความเหมาะสมของการทำการเกษตรในแต่ละพื้นที่ อันจะนำไปสู่การ
เพิ่มผลิตภาพของภาคเกษตรกรรมซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มผลกำไรที่สูงกว่าการทำการเกษตรในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม
ในปีงบประมาณ 2558 ภาครัฐจึงได้เห็นชอบให้ดำเนินงานโครงการบูรณาการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้
ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งที่ดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ที่ 1 เรื่องการฟื้นฟูความเชื่อมั่นและ
เร่งรัดวางรากฐานที่ดีของประเทศ ในหัวข้อย่อย 1.7 เร่งรัดการประยุกต์ใช้งานวิจัยและพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ
|
|
|
 |